เทคนิคงานไม้
เทคนิคงานไม้
ป่าไม้เป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ ในทางตรงไม้ที่ได้จากป่า สามารถนำมาแปรรูปเพื่อใช้ในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ไม้ที่โค่นล้มและทอนแล้ว เรียกว่าไม้ซุงหรือไม้ท่อน เมื่อนำออกมาจากป่าและทำการแปรรูปให้มีขนาดที่แน่นอนได้มารตฐานแล้วจะกลายเป็นไม้แปรรูป ได้แก่ ไม้ที่ใช้สำหรับทำพื้น ฝาผนัง บานประตู –หน้าต่าง กรอบวงกบประตู-หน้าต่าง ไม้โครงสร้างต่างๆ รวมไปถึงไม้ท่อนที่ใช้สำหรับทำเสา คาน บันได และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
เมืองไทยได้แบ่งไม้แปรรูปด้วยการนำเอาความแข็งแรงในการดัด (แรงประลัย) ของไม้แห้งที่มีความชื้นในเนื้อไม้ระหว่าง 10 ถึง 14 เปอร์เซ็น และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้นๆ เป็นเกณฑ์ โดยจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ
1.ไม้เนื้อแข็ง
ไม้เนื้อแข็งเป็นไม้ที่มีเนื้อแกร่งและเหนียว มีความแข็งแรงและทนทานตอ่การใช้ท่ามกลางแดดและฝนได้ดีมาก เนื้อไม้มีทั้งชนิดเนื้อหยาบไปจนถึงเนื้อละเอียดทั้งชนิดเสี้ยนไม้ตรงและเสี้ยนไม้สับสนยากต่อการเลื่อย ไสกบและตกแต่ง แต่ขัดมันได้ดีเนื่องจากเนื้อไม้ส่วนใหญ่จะเป็นมันในตัว ไม้ชนิดนี้จะมีสีเข้ม เป็นไม้ที่มีน้ำหนักมาก โดยทั่วไปจะหนักตั้งแต่ ประมาณ 720 ถึง 1,200 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตรหรือกว่านั้น ไม้เนื้อแข็งบางชนิดได้แก่ ไม้เต็ง รัง ประดู่ เคียม มะค่าโมง ชิงชัน แดง มะเกลือ เลียงมัน เสลา หลุมพอ แอ๊ก และบุนนาก นิยมใช้กับโครงสร้างในส่วนที่รับแรง ใช้ทำเครื่องมือ เป็นต้น
2.ไม้เนื้อปานกลาง
ไม้เนื้อปานกลางเป็นไม้ที่มีเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง มีความแข้งแรงและทนทานพอประมาณ เนื้อไม้มีทั้งชนิดเนื้อหยาบไปจนถึงเนื้อละอียด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อละเอียด เสี้ยนไม้ตรงหรือเกือบตรง จึงสะดวกต่อการเลื่อย ไสกบ และตกแต่ง และเนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม จึงนิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน สีของไม้ชนิดนี้จะอยู่ในระดับปานกลาง เป็นไม้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ประมาณ 690 ถึง 1,130 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ไม้เนื้อปานกลางบางชนิด ได้แก่ ไม้ตะเคียนทอง ตะเคียนตะแบก นนทรี พลวง มะค่าแต้ ยูง และรกฟ้า นิยมใช้กับงานก่อสร้างบ้าน งานเครื่องเรือนเป็นต้น
3.ไม้เนื้ออ่อน
ไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ที่เนื้ออ่อนและหยาบ มีความแข็งแรงและทนทานน้อยที่สุด มอดหรือปลวกชอบทำลาย การยืดหดตัวไม่สม่ำเมอมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิดของไม้ สีของเนื้อไม้ก็แตกต่างกันออกไปจากสีอ่อนไปจนถึงสีเกือบเข้ม ไม้ชนิดนี้จะมีน้ำหนักตั้งแต่ประมาณ 500 ถึง 870 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ไม้เนื้ออ่อนบางชนิด ได้แก่ ไม้กระท้อน ยาง จำปาป่า กระบาก ยมหอม กระเจา พะยอม สัก และอินทนิน นิยมกับงานชั่วคราวและงานในร่ม เป็นต้น
ไม้สักเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีลวดลายสวยงามและมีคุณภาพดีที่สุด นอกจากนั้นมอดหรือปลวกไม่ทำลาย จึงนิยมใช้ทำเครื่องเรือนชั้นดี บานประตู-หน้าต่าง พื้น หรือส่วนอื่นที่ต้องการความสวยงามแต่จะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักไม่มาก
เทคนิคงานไม้
จากประสบการณ์ การทำงานที่ยาวนาน ในงานช่าง เรายินดี รับปรึกษางานช่าง รับเหมางานช่าง
เสนอ แนะนำ แหล่งข้อมูลเป็นประโยชน์ "ประเภทของไม้อัด"