ช่างเทพ GODTECHNICIAN DESIGN

ช่างเทพ GODTECHNICIAN DESIGN

เมนู

นายช่างใหญ่

พระวิษณุกรรมพระวิศวกรรม

พระวิษณุกรรมพระวิศวกรรม

นายช่างใหญ่


เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์


ประวัติ และเรื่องราวของเทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ พระวิษณุกรรมพระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรมพระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่าเป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ช่างไทยแขนงต่าง ๆให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่าคือท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่าง ก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัด ระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน3 เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุและพระศิวะทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในพระไตรปิฎก (อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ (ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงินบันไดทองบันไดแก้วทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลก มนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา) นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูปปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระ บรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ ว่านี้
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิตสักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานครเมืองแห่งเทวดานั้นพระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างตามพระบัญชาของพระ อินทร์ 
พระวิษณุกรรมราชาแห่งช่างเทพเจ้าผู้เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา กรุณาเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศหาเทพองค์ใดเสมอเหมือนและทรงมีอิทธิฤทธิ์ มากในการเนรมิตสิ่งต่างๆ ให้บังเกิดนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 โลก คือชั้นโลกมนุษย์ชั้นพรหม ชั้นเทพ และชั้นบาดาลใต้พิภพ  เครื่องทรงของพระวิษณุกรรม เป็นเทพดั่งเดียวกับคนธรรม์ โดยไม่สวมเสื้อนุ่งผ้ารัดเข็มขัดทองลงยาใส่สนับเพลาประดับทองกรกรองคอสวม สังวาลเต็มและกำไลที่ข้อแขนต้นพระหัตถ์และที่ข้อพระบาทหนักข้างละ 4 ชั่ง พระหัตถ์ขวาทรงถือจอบเพื่อใช้ในการขุดแต่งดินในการฝังเสาผูกหลักตามพระฤกษ์ แห่งการก่อสร้างจึงเป็นที่มาแห่งฉายาว่า " ช่างก่อ " พระหัตถ์ซ้ายทรงถือลูกดิ่งมีเฟืองทองผ่องอำไพแผ่รัศมีเจิดจ้าอยู่เบื้องหลัง แสดงถึงความเที่ยงตรง แม่นยำแห่งกาลเวลาในการขับเคลื่อนกงล้อแห่งฟันเฟืองมาแต่ครั้งโบราณกาล จึงเป็นที่มาแห่งฉายาว่า " ช่างยนต์ " อีกทั้งยังได้กำลังหนุนช่วยจากพระอสุนีบาตสาดแสงเต็มทั่วท้องฟ้า จากสายฟ้าที่พาดผ่าน เปรี้ยงปร้างทั้งกลางวันกลางคืนจนกิจการงานนั้นๆสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงเป็นที่มาแห่งฉายาว่า " ช่างไฟ " อีกทั้งยังรวมไปถึงงานศิลปที่ต้องใช้ความปราณีตวิจิตรบรรจงในการรังสรรค์และ เนรมิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้สรวงสวรรค์นั้นงดงามสว่างไสวระยิบระยับอยู่ตลอดเวลา ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรม และหัตถกรรมแขนงต่างๆ จึงเป็นที่มาแห่งฉายาว่า " ช่างศิลป์ " และกิจการงานในด้านการเซ่นสังเวยบวงสรวงเทพยดาฟ้าดินบนสรวงสวรรค์ ในการบอกกล่าวขอพรต่อกิจการงานใดๆที่กระทำอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต่อองค์พระอินทร์และพระพรหมจึงเป็นที่มาแห่งการเจรจา วาจาสิทธิ์สำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้บังเกิดจึงเป็นที่มาแห่งฉายาว่า "พาณิชยกรรม "    


คาถาบูชาพ่อวิษณุกรรม


จุดธูป 9 ดอก และตั้ง นะโม 3 จบ 
โอม ปะระ เมสสะนะ มัสสะการัม ภูปัสสะวะ วิษณุกรรม ประสิทธิ นะมัตเต นะมัตเต นะมัตเต 
หรือ อะหังวะโต พระวิษณุเถโร อะโตวะหัง นิติวะตัง ลาภังวะโส


การสักการะบูชาองค์พระวิษณุกรรม


บูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องหอม จุดธูป 8 ดอก

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)


คาถาบูชา


โอม นะโม วิษณุกรรม นะมะ ภะวันตุเม

ทุติยัมปิ นะโม วิษณุกรรม นะมะ ภะวันตุเม

ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตะตัญจะ มหาลาโภ


บทอธิษฐานขอพร


บูชาและถวายเครื่องบวงสรวง จุดธูป 16 ดอก (แก้บน 32 ดอก)

โอมสะศางขะจักรัม สะกิริฏะกุณตะลัม สปิตะวัสตรัม

สะระสีรูเหกษณัม สะหาระวักษะสถะระ เกาวตุภะ ศริยัม

นะมามิ วิษณุม ศิระสา จตุรภุชัม


เชิญพระวิษณุกรรม


โอม คุรุ เทวา นะมามิ วิษณุกรรม กันเจวะ อาจาริยัง เทวา มหาปัญโย นิมิตตัง ศิลปนามัง โยธามิเศษตัง ปฏิกรรม

นานัง ภะวันตุโน อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ เอหิ นะมะมามา วันทามิ


บทถวายเครื่องบวงสรวง
บทที่ 1


อิมิ ธูปะพยัญชนะ สัมปัณนัง สาลีนัง โภชนานัง ทีปะ ธูปะ ทะมัง สักการะ วันทานัง อุเทวานัง คุรุ อาจาริยัง สัพพะ

ทาติ อะหัง วันทามิ


บทที่ 2

ว่าคาถาและนำธูปปักเครื่องสังเวยจนหมดทุกอย่าง


อิมัสมิง มงคลจักรวาลัง ภะวิสติ ชัยโย ชัยโยนิจัง สัพพะทุกขัง วินาศสันติ ปฏิสนธิตัง

มหาลาโภ ชัยโยนิจัง พะวันตุเต


บทที่ 3

ลาเครื่องบวงสรวงบูชา


เสสัง มังคะลัง วิษณุกรรมเทวานัง ยาจามิ (3 จบ)

นายช่างใหญ่


ช่างเทพ GODTECHNICIAN DESIGN


จากประสบการณ์ การทำงานที่ยาวนาน ในงานช่าง เรายินดี รับปรึกษางานช่าง รับเหมางานช่าง

เสนอ แนะนำ แหล่งข้อมูลเป็นประโยชน์ "เทคนิคงานก่อสร้าง"

การตั้งค่าคุกกี้
X
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)