เทคนิคงานก่อสร้าง
เทคนิคงานก่อสร้าง
หินที่ใช้ในงานคอนกรีต
หินที่ใช้ในงานก่อสร้างนั้นได้มาจากการระเบิดหินจากภูเขา ซึ่งจะต้องมีการสำรวจทางธรณีวิทยาเสียก่อนว่าหินนั้นเป็นชนิดหินปูน (lime stone) หรือไม่เนื่องจากเป็นหินที่นิยมนำมาย่อยใช้ในงานคอนกรีต หลังจากนั้นจึงขอสัมปทานในการทำเหมืองหิน ทำการระเบิดหินออกมาแล้วลำเลียงเข้าสู่เครื่องย่อยหิน (โม่) ชุดที่หนึ่ง หินที่มีขนาดเล็กกว่า 8" จะผ่านตะแกรงร่อนไปรวมกับหินที่ย่อยมาจากเครื่องย่อยที่หนึ่งไปสู่เครื่องย่อยชุดที่สองและชุดที่สาม เพื่อทำการย่อยหินให้เล็กลงอีกจนได้ขนาด 2",1 1/2",1",3/4",1/2",3/8",หินเกล็ด,หินคลุก,หินฝุ่น ตามที่ต้องการ ส่วนหินที่ยังไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการก็นำกลับไปสู่เครื่องย่อยใหม่อีกครั้ง หินและทรายโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักประมาณ 1,400-1,600 กก./ลบ.ม. และมีความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) ประมาณ 2.4-2.9 ขนาดของหินที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปคือหินสอง หมายถึง หินที่มีขนาดระหว่าง 1"-2"
ทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง
ทรายเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างได้หลายประเภท เช่น ผสมในคอนกรีต ปรับระดับพื้นดิน ปรับพื้นที่จัดสวน ผสมปูนก่ออิฐและฉาบผนัง ใช้ผสมอิฐบล็อก ใช้ผสมในงานตบแต่ง เช่น หินขัด-หินล้าง เป็นต้น ทรายที่ใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วไปจะมีขนาดเม็ดระหว่าง 1/16"-2 มม. น้ำหนักเมื่ออยู่ในสภาพแห้งจะหนักประมาณ 1,400-1,650 กก./ลบ.ม.และ 1,800-2,000 กก./ลบ.ม. เมื่ออยู่ในสภาพเปียก
เหล็กที่ใช้เสริมในงานคอนกรีต RB
เหล็กเส้นที่ใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ RB และ DB
เหล็กเส้นกลม (Round Bars; RB) ตามมาตรฐาน มอก.20-2527 กำหนดให้เหล็กเส้นกลมมีชั้นคุณภาพที่ SR 24 ซึ่งหมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดครากไม่ต่ำกว่า 2,400 กก./ตร.ซม. ขนาดของเหล็กมีตั้งแต่ ø 6 มม. ถึง ø 25 มม. ส่วนความยาวมารตฐานคือ 10 ม. แต่ถ้าต้องการยาวมากกว่านี้ก็สามารถสั่งโรงงานได้เป็นพิเศษ เหล็กขนาด ø 6 มม. และ ø 9 มม. มักใช้เป็นเหล็กปลอกในคานหรือเสา ส่วนเหล็กขนาด ø 12 มม. ขึ้นไปใช้เป็นเหล็กเสริมแกนในงานคอนกรีต ส่วนประกอบทางเคมีของเหล็กเส้นกลมคือ คาร์บอนประมาณ 0.28% ฟอสฟอรัสประมาณ 0.058% และกำมะถันประมาณ 0.058% นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน มอก.211-2520 เหล็กเส้นกลมรีดซ้ำ เป็นเหล็กที่ได้จากการนำเศษเหล็กไปหลอมแล้วรีดออกมาใหม่ โดยใช้สัญลักษณ์ว่า SRR24 มักใช้สำหรับงานเหล็กปลอกเท่านั้น
RB6 ขนาด ø 6 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.222
RB8 ขนาด ø 8 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.395
RB9 ขนาด ø 9 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.499
RB10 ขนาด ø 10 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.616
RB12 ขนาด ø 12 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.888
RB15 ขนาด ø 15 มม. น้ำหนัก กก./ม. 1.387
RB19 ขนาด ø 19 มม. น้ำหนัก กก./ม. 2.226
RB22 ขนาด ø 22 มม. น้ำหนัก กก./ม. 2.984
RB25 ขนาด ø 25 มม. น้ำหนัก กก./ม. 3.853
RB28 ขนาด ø 28 มม. น้ำหนัก กก./ม. 4.834
RB34 ขนาด ø 34 มม. น้ำหนัก กก./ม. 7.127
เหล็กที่ใช้เสริมในงานคอนกรีต DB
เหล็กเส้นที่ใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ RB และ DB
เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars; DB) เนื่องจากผิวของเหล็กมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายอ้อย จึงเรียกว่าเหล็กข้ออ้อย ตามมารตฐาน มอก.24-2536 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น เช่น SD 30,SD 40,SD 50,SD 60 ซึ่ง SD 30 หมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กก./ตร.ซม. หรือ SD 40 หมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กก./ตร.ซม. ขนาดของเหล็กมีตั้งแต่ ø 10 มม. ถึง ø 40 มม. ส่วนความยาวมารตฐานคือ 10 ม. แต่ถ้าต้องการยาวมากกว่านี้ ก็สามารถสั่งโรงงานได้เป็นพิเศษ เหล็กข้ออ้อยใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ส่วนประกอบทางเคมีของเหล็กข้ออ้อยคือ แมงกานีสประมาณ 1.8% ฟอสฟอรัสประมาณ 0.05% กำมะถันประมาณ 0.05% และถ่านผสมกับ 1/6 แมงกานีสประมาณ 0.5-0.6%
DB6 ขนาด ø 6 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.222
DB8 ขนาด ø 8 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.395
DB10 ขนาด ø10 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.616
DB12 ขนาด ø12 มม. น้ำหนัก กก./ม. 0.888
DB16 ขนาด ø 16 มม. น้ำหนัก กก./ม. 1.578
DB20 ขนาด ø 20 มม. น้ำหนัก กก./ม. 2.466
DB22 ขนาด ø 22 มม. น้ำหนัก กก./ม. 2.984
DB25 ขนาด ø 25 มม. น้ำหนัก กก./ม. 3.853
DB28 ขนาด ø 28 มม. น้ำหนัก กก./ม. 4.834
DB32 ขนาด ø 32 มม. น้ำหนัก กก./ม. 6.313
DB36 ขนาด ø 36 มม. น้ำหนัก กก./ม. 7.990
DB40 ขนาด ø 40 มม. น้ำหนัก กก./ม. 9.865
การผสมคอนกรีตใช้เอง
สำหรับงานก่อสร้างขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะกำหนดส่วนผสมของคอนกรีตโดยปริมาตร เช่น 1: 2 : 4 อัตราส่วนที่กล่าวถึงนี้ คือ ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน หิน 4 ส่วน โดยปริมาตร การที่จะแปลงส่วนผสมโดยปริมาตรดังกล่าวให้เป็นส่วนผสมโดยน้ำหนักสามารถทำได้ดังนี้
ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ
1. หน่วยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ = 1,4000 กก./ลบ.ม.
2. หน่วยน้ำหนักของหินทราย = 1,450 กก./ ลบ.ม.
การคำนวณ
ปูน 1 ถุง 50 กก. มีปริมาตร = 0.036 x 1 = 0.036 ลบ.ม.
ทราย 2 ส่วน มีปริมาตร = 0.036 x 2 = 0.072 ลบ.ม.
หิน 4 ส่วน มีปริมาตร = 0.036 x 4 = 0.144 ลบ.ม.
น้ำหนักหิน = 0.144 x 1450 = 206 กก.
ปริมาณน้ำที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับ ปูน 1 ถุง เพื่อให้ได้ค่า ยุบตัวประมาณ 10 ซม. เท่ากับ 30 ลิตร
น้ำหนักของส่วน ผสมทั้งหมดเมื่อใช้ปูน 1 ถึง = 50 + 104 + 209 + 30 = 393 กก.
หน่วยน้ำหนักคอนกรีต 1 ลบ.ม. = 2,400 กก.
ต้องใช้ปริมาณปูน = 2,400 / 393 = 6.1 ถุง = 305 กก./ลบ.ม.
สรุปส่วนผสมที่ใช้ในคอนกรีต 1 ลบ.ม.
ปูนซีเมนต์ = 305 กก./ลบ.ม.
ทราย = 635 กก./ ลบ.ม.
หิน = 1,275 กก./ลบ.ม.
น้ำ = 185 กก./ ลบ.ม.
โดยมีค่ายุบตัว ประมาณ 10 ซม.
มาตรฐานการทดสอบ
ปูนซีเมนต์
- ค่าความถ่วงจำเพาะ ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 188 แต่สามารถใช้ค่า 3.15 สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป
มวลรวม
- ขนาดคละ ควรมีส่วนคละตามมาตรฐาน ASTM C 33
- ความถ่วงจำเพาะ
- ทราย ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 128
- หิน ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 127
– ความชื้น ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 70 และ ASTM C 565
- ความละเอียดของทราย ทดสอบมาตรฐาน ASTM C 125
- หน่วยน้ำหนักของมวลรวม ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 29
เทคนิคงานก่อสร้าง
จากประสบการณ์ การทำงานที่ยาวนาน ในงานช่าง เรายินดี รับปรึกษางานช่าง รับเหมางานช่าง เสนอ แนะนำ แหล่งข้อมูลเป็นประโยชน์ "ระยะเวลาในการถอดแบบ"