น้ำหนักที่ใช้การออกแบบ
น้ำหนักที่ใช้การออกแบบ
น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ออกแบบแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load; DL)
หมายถึง น้ำหนักบรรทุกที่มีลักษณะคงที่ตายตัว ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงขนาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารเป็นหลัก เช่น ฐานราก เสา คาน พื้น หลังคา ผนัง กระเบื้องปูพื้น เป็นต้นน้ำหนักบรรทุกคงที่ของวัสดุต่างๆ มีข้อมูลน้ำหนักต่อหน่วยโดยประมาณดังนี้
- คอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา น้ำหนักต่อหน่วย( 2,300-2,400 ก.ก./ล.บ.ม.)
- เหล็ก น้ำหนักต่อหน่วย( 7,700-7,900 ก.ก./ล.บ.ม.)
- ไม้ น้ำหนักต่อหน่วย( 460-490 ก.ก./ล.บ.ม.)
- กระจก น้ำหนักต่อหน่วย( 2,900-3,000 ก.ก./ล.บ.ม.)
- น้ำ น้ำหนักต่อหน่วย( 1,000 ก.ก./ล.บ.ม.)
- ผนังอิฐบล็อกรวมฉาบ หนา 10 ซ.ม. น้ำหนักต่อหน่วย( 120-150 ก.ก./ตร.ม.)
- ผนังอิฐมอญรวมฉาบ หนา 10 ซ.ม. น้ำหนักต่อหน่วย( 180-200 ก.ก./ตร.ม.)
- ผนังอิฐบล็อกมวลเบารวมฉาบ หนา 10 ซ.ม. น้ำหนักต่อหน่วย( 90-100 ก.ก./ตร.ม.)
- ผนังเบา เช่น ฝาไม้, ไม้อัด, ยิปซั่ม รวมโครงคร่าว น้ำหนักต่อหน่วย( 30-50 ก.ก./ตร.ม.)
- หลังคากระเบื้องลอนคู่, ลอนเล็ก รวมแป น้ำหนักต่อหน่วย( 15-20 ก.ก./ตร.ม.)
- หลังคากระเบื้องโมเนีย, ดินเผาเคลือบ รวมระแนง น้ำหนักต่อหน่วย( 50-70 ก.ก./ตร.ม.)
- โครงสร้างหลังคา น้ำหนักต่อหน่วย( 20-50 ก.ก./ตร.ม.)
- ฝ้าเพดาน รวมโครงคร่าว น้ำหนักต่อหน่วย( 15-20 ก.ก./ตร.ม.)
- พื้นไม้รวมตง น้ำหนักต่อหน่วย( 30-50 ก.ก./ตร.ม.)
- พื้นแผ่นสำเร็จรวมคอนกรีตทับหน้า หนารวม 10 ซ.ม. น้ำหนักต่อหน่วย( 240-260 ก.ก./ตร.ม.)
- ผิวพื้นกระเบื้องรวมปูนทราย หนา 5 ซ.ม. น้ำหนักต่อหน่วย( 120-150 ก.ก./ตร.ม.)
2.น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load; LL)
หมายถึง น้ำหนักบรรทุกที่เป็นลักษณะมีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงขนาดน้ำหนักได้ ตลอดเวลาหรือบรรทุกอยู่ชั่วคราว เช่น น้ำหนักบรรทุกของผู้คนที่เข้าไปใช้ในอาคารนั้นๆ ตู้เก็บเอกสาร อุปกรณ์สำนักงาน รถยนต์ แรงลม เป็นต้นตามข้อกำหนดพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 หรือกฏกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 เป็นกฏหมายที่ใช้ควบคุมการออกแบบโดยกำหนดค่าน้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำไว้ดัง นี้
- หลังคา น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (50กก./ตรม.)
- พื้นกันสาดหรือพื้นหลังคาคอนกรีต น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (100กก./ตรม.)
- ที่พักอาศัย, โรงเรียนอนุบาล, ห้องน้ำ-ห้องส้วม น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (150กก./ตรม.)
- ห้องแถว, ตึกแถว, อาคารชุด, หอพัก, โรงแรม น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (200กก./ตรม.)
- สำนักงาน, ธนาคาร น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (250กก./ตรม.)
- อาคารพาณิชย์, มหาวิทยาลัย, วิทยาลัย, และโรงเรียน น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (300กก./ตรม.)
- ห้องโถง, บันไดและช่องทางเดินของอาคารชุด, หอพัก, โรงแรม, โรงพยาบาล, สำนักงาน และธนาคาร น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (300กก./ตรม.)
- ตลาด, ห้างสรรพสินค้า, หอประชุม, โรงมหรสพ, ภัตตาคาร, ห้องประชุม, ห้องอ่านหนังสือในหอสมุด, ที่จอด/เก็บรถยนต์นั่ง น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (400กก./ตรม.)
- ห้องโถง, บันไดและช่องทางเดินของอาคารพาณิชย์, มหาวิทยาลัย, วิทยาลัย และโรงเรียน น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (400กก./ตรม.)
- คลังสินค้า, โรงกีฬา, พิพิธภัณฑ์, อัฐจันทร์, โรงพิมพ์, โรงงานอุตสาหกรรม, ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (500กก./ตรม.)
- ห้องโถง, บันได, ช่องทางเดินของตลาด, ห้างสรรพสินค้า, หอประชุม, โรงมหรสพ, ภัตตาคาร และหอสมุด น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (500กก./ตรม.)
- ห้องเก็บหนังสือของหอสมุด น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ600กก./ตรม.)
- ที่จอดหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่าและรถอื่นๆ น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ600กก./ตรม.)
- แรงลมที่กระทำต่ออาคาร (กรณีไม่มีเอกสารอ้างอิง)
- ส่วนของอาคารที่สูงไม่เกิน 10 ม. น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ50กก./ตรม.)
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 10 ม. แต่ไม่เกิน 20 ม. น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ80กก./ตรม.)
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 20 ม. แต่ไม่เกิน 40 ม. น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ120กก./ตรม.)
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 40 ม. น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (ุ160กก./ตรม.)
น้ำหนักที่ใช้การออกแบบ
จากประสบการณ์ การทำงานที่ยาวนาน ในงานช่าง เรายินดี รับปรึกษางานช่าง รับเหมางานช่าง
เสนอ แนะนำ แหล่งข้อมูลเป็นประโยชน์ "การออกแบบฐานราก"